Recent Post

Gallery

ความลับของ “Drone Specialist” อาชีพในฝันยุคดิจิตอล รายได้วันละครึ่งแสน



ภาพถ่ายมุมสูงประชาชนรวมตัวกันนับล้านคนที่ อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยในปี 2557 ภาพถ่ายการชุมนุมของประชาชนที่ถนนอักษะ และภาพข่าวในมุมมองแบบ "Bird Eye's View" ที่ปรากฎต่อสังคมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ล้วนกำลังบ่งบอกถึงพัฒนาการของภาพข่าวที่แต่ละสื่อต้องแข่งขันกันอย่างหนักตั้งแต่นี้ต่อไป และยังรวมถึงภาพถ่ายงานสำคัญๆ อื่นๆ ที่กำลังหันมาใช้ภาพจากมุมที่แปลกตานี้กันเพิ่มมากขึ้น

"Drone Specialist" คืออาชีพที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการพัฒนาด้านไอทีของยุคดิจิตอล

กระแสความนิยมของอากาศยานไร้คนขับหรือที่เรียกกันว่า "โดรน" ความสวยงามจากมุมมอง Bird Eye's View นับได้ว่ามาแรงและหยุดไม่อยู่ แต่การจะบังคับโดรนเพื่อถ่ายภาพมุมสูงอย่างมืออาชีพนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย

Drone Specialist ให้สัมภาษณ์โดยได้ให้ข้อมูลถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่เขาจะมาทำอาชีพนี้ว่า เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้วได้เริ่มหัดเล่นเครื่องบินบังคับจากความชอบส่วนตัว หลังจากนั้นก็ฝึกฝนพัฒนาทักษะในการบังคับมาอย่างต่อเนื่องจนได้มาประกอบอาชีพ Drone Specialist ในขณะนี้

อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ใครๆ ก็ทำได้ขอแค่มีใจรัก กล้าที่จะเสี่ยง เผชิญหน้ากับความกดดันในสถานการณ์ต่างๆของการบินได้เป็นอย่างดี




ข้อดีของอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) คือการที่ทำให้เราได้ภาพมุมสูงมาโดยที่ประหยัดค่าใช้จ่าย หากมองย้อนไปถึงสมัยก่อนที่จะมีเทคโนโลยีนี้ภาพมุมสูงจะต้องมาจากการนั่งเฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบิน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายสูงมากในแต่ละครั้งที่จะบินขึ้นไปถ่ายมุมสูง ยากต่อการเข้าถึงเป็นเพียงกิจกรรมของผู้มีทุนทรัพย์เท่านั้น

สำหรับการบังคับโดรนนั้นไม่ใช่เรื่องยากหากมีพื้นฐานในการบังคับเครื่องบินบังคับมาก่อน เพราะว่ามันค่อนข้างจะคล้ายกัน แต่ถึงแม้จะไม่พื้นฐานการบังคับเครื่องบินบังคับอยู่เลย ก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากจนเกินไป นายวัชรากร มองว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและสมาธิมากกว่า

การทำอาชีพ Drone Specialist นี้แม้จะมีข้อดี แต่ก็ไม่ง่าย โดยเฉพาะเรื่องของการต้องแบกรับความกดดันที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้นๆ โดยเฉพาะการรายงานข่าวแบบออกอากาศสด หรือ LIVE

อากาศยานไร้คนขับ(โดรน)ถือได้ว่าเป็นกระแสที่มาแรงอย่างฉุดไม่อยู่ จากการที่ประชาชนทั่วไปเริ่มหันมารับงานด้านการถ่ายภาพมุมสูงด้วยโดรนมากขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่งานข่าว จากการที่ราคาของเครื่องโดรนนั้นต่ำลงกว่าแต่ก่อนมาก โดยเวลานี้สามารถหาซื้อเครื่องโดรนได้ตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสนบาท




อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีผู้ที่หันมาทำอาชีพนี้มากขึ้นจนล้นตลาด กลุ่มลูกค้าก็ยังคงเลือกที่จะจ้าง จากประสบการณ์การบังคับมากกว่าที่จะเลือกจากราคาค่าจ้างที่ถูกกว่า "ภาพมุมสูงเป็นสิ่งที่ไม่มีวันถึงทางตัน เพราะไม่ว่าอย่างไรคนก็ยังชอบดูภาพจากมุมสูง เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ได้เห็นกันง่ายๆ

สำหรับด้านค่าตอบแทนของการบังคับอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) นั้นถือว่าสูงไม่น้อยหากเป็นมืออาชีพมีผลงานเป็นที่น่าเชื่อถือแล้ว อัตราค่าจ้างสำหรับการถ่ายภาพข่าวแล้วจะแบ่งตามขนาดของโดรนหรือนับตามจำนวนใบพัดของเครื่องได้ตามนี้

1.)โดรนขนาดเล็ก หรือ4ใบพัด จะมีค่าจ้างอยู่ที่ 10,000 - 15,000 บาทต่อวันหรือหากเป็นการรายงานข่าวแบบออกอากาศสดอัตราค่าจ้างจะสูงขึ้นเป็น 15,000 - 25,000 บาท


2.)โดรนขนาดกลาง หรือ6ใบพัด จะมีค่าจ้างอยู่ที่ 20,000 - 25,000 บาทต่อวันหรือหากเป็นการรายงานข่าวแบบออกอากาศสดอัตราค่าจ้างจะสูงขึ้นเป็น 25,000 - 30,000 บาท


3.)โดรนขนาดใหญ่ หรือ8ใบพัดขึ้นไป จะมีค่าจ้างอยู่ที่ 30,000 - 35,000 บาทต่อวันหรือหากเป็นการรายงานข่าวแบบออกอากาศสดอัตราค่าจ้างจะสูงขึ้นเป็น 35,000 - 50,000 บาท

ถึงแม้ว่ากรมการบินพลเรือน จะมีการออกกฏควบคุมการบินของอากาศยานไร้คนขับนี้ ตามพ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 ออกมา โดยเนื้อหาสำคัญได้แก่


1.สมรรถนะ จะกำหนด น้ำหนัก ขนาด รวมทั้งปริมาณเชื้อเพลิงที่บรรจุภายในโดรนต้องบินในระยะที่ไม่นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนจราจรทางอากาศ


2. ภารกิจ จะไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปนำโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพขึ้นบิน เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จะอนุญาตให้โดรนติดตั้งกล้องไปใช้งานได้ เฉพาะธุรกิจที่มีความจำเป็นในการถ่ายภาพ เช่น ธุรกิจประเภทสื่อสารมวลชน หรือธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์


3. ระดับความสูง กำหนดห้ามโดรนบินในระดับความสูงที่เกินกว่า 500 ฟุต และต่ำเกินกว่า 50 ฟุตจากระดับพื้นดิน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบินพาณิชย์ และห้ามบินต่ำเกินไปจนส่งกระทบต่อบ้านเรือนและประชาชนทั่วไป





รวมทั้งจะกำหนดให้โดรนที่บินจะต้องยื่นขออนุญาตกระทรวงคมนาคม ก่อนขึ้นบินทุกครั้ง หากพบว่าไม่ขออนุญาตจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โทษจำคุก 1 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การเป็น Drone Specialist จึงยากขึ้นไปอีก แต่กระนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี และอยากให้มีการควบคุมที่เข้มงวดกว่านี้อีก เพราะว่าจะทำให้คนที่อยู่ในอาชีพนี้มีการใช้งานโดรนอย่างถูกต้อง มีกฎกติกาที่ชัดเจน

สังคมของการบังคับอากาศยานไร้คนขับ นายวัชรากรมองว่า เป็นสังคมของการแลกเปลี่ยนความรู้มากกว่าสังคมของการแข่งขันกัน และเชื่อว่าถึงแม้ตนจะมีชั่วโมงบิน ประสบการณ์สูง แต่ก็ยังมีคนที่บังคับโดรนได้ดีกว่าตนเอง เพียงแต่ไม่เปิดตัวออกมาสู่สังคมหรือรับงานเป็นอาชีพแต่บินเพียงเพราะใจรักและสนุกไปกับมันเท่านั้น

สำหรับมือใหม่ แนะนำให้ศึกษาข้อมูลของตัวเครื่องโดรนให้ดี เลือกซื้อร้านที่มีการอบรม,สอนการใช้งานการควบคุมเบื้องต้น ต้องหมั่นเช็คสภาพของตัวเครื่องเป็นประจำทั้งก่อนบินและหลังบิน หมั่นฝึกฝนบ่อยๆ อาจจะเริ่มหัดบังคับจากเครื่องราคาหลักพันบาทก่อนเพื่อให้คุ้นเคยกับการบังคับ"แค่มีใจรัก หมั่นฝึกฝน ศึกษาหาข้อมูล" ทำให้เราได้มุมมองใหม่ๆกับโลกใบนี้ และยังพัฒนาจนประกอบอาชีพนี้ได้ด้วย "Drone Specialist" จึงไม่ใช่แค่ฝันใช่ไหมครับ

    Choose :
  • OR
  • To comment